จุดเริ่มต้นของบริการ Self-Storage

จากข้อมูลของ Quraz ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Self-Storage อันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดเผยว่า การเช่า Storage เพื่อใช้ในการเก็บของใช้ส่วนตัวนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกามามากกว่า 40 ปี ซึ่งเป็นลักษณะของการให้บริการที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Self-Storage  ในประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตของธุรกิจ Self-Storage โดยเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี มูลค่าตลาดโดยประมาณ 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 ใน 10 ของครัวเรือนจะมีการใช้บริการใช้บริการ Self-Storage ปัจจุบันถือได้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีตลาด Self-Storage ที่มีขนาดที่ใหญ่สุดในโลก นอกจากนั้น ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ตลาด Self-Storage ก็ได้มีการขยายไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น  สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เป็นต้น สำหรับในเอเชีย ตลาด Self-Storage เข้ามาช่วงประมาณ 10 ปีมานี้ ประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด ธุรกิจ Self-Storage ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่บริษัทคลังสินค้า และผู้ประการสำนักงานให้เช่า นำพื่นที่บางส่วนแบ่งมาทำธุรกิจ Self-Storage มีลักษณะเป็นแบบ In-Door นอกจากนนั้นก็ยังมีเจ้าของที่ดินได้จัดหาตู้คอนเทนเนอร์นำมาทำเป็น Self-Storage มีลักษณะเป็นแบบ Out-Door รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ Trunk Room 

ภาพจาก :iStock

นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ธุรกิจ Self-Storage ยังได้มีการแผ่ขยายไปยังประเทศหรือเมืองที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแถบภูมิภาคเอเชีย เช่น บางมณฑลของประเทศจีน ฮ่องกง ใต้หวัน มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย เป็นต้น จากรายงานประจำปีของ The Self Storage Association Asia พบว่า จำนวนของ Self-Storage ในปี 2018 ของญี่ปุ่นมีจำนวน 3,234 ฮ่องกงจำนวน 418 บางมณฑลของจีน 423 ใต้หวัน 117 มาเลเซีย 14 สิงคโปร์ 60 ไทย 13 และฟิลิปปินส์ 12 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิงคโปร์นั้นถือว่าเป็นที่น่าจับตามองมากที่สุดเพราะมีจำนวนของ Self-Storage เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ได้เคยคาดการณ์ไว้ โดยในปี 2018 มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 7.1 ในขณะที่ไทยและฟิลิปปินส์นั้นก็ถือว่าเป็นตลาดเกิดใหม่สำหรับ Self-Storage ที่น่าจับตามองเช่นกัน 


ภาพจาก :iStock

สำหรับในประเทศไทย บริการ Self-Storage เริ่มต้นให้บริการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นแห่งแรก โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีผู้ให้บริการายแรก คือ My Storage ต่อมาในปี 2558 ธุรกิจ Self-Storage ได้มีการขยายตลาดไปยังเชียงใหม่ หัวหิน และพัทยา โดยยังเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยมีการผสมผสานกับการเช่าคลังสินค้า 

ปัจจุบันบริการ Self-Storage  ได้รับแรงขับเคลื่อนจากการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce  และ Logistic โดยมีการผสมผสานเข้าการการเช่าคลังสินค้า ซึ่งมีขนาดพื้นที่จัดเก็บขนาดเล็ก 2.25 – 4.5 ตารางเมตร ขนาดกลาง 6 – 9 ตารางเมตร และขนาดใหญ่ 20 – 25 ตางราเมตร ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายนอกจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแล้วจึงเน้นไปยังผู้ประกอบการ e-commerce หรือผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้น 

ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการเพิ่มมากขึ้น เช่น JW Store it, I Store , CloudRoom, REDD, Bangkok Self Storage เป็นต้น เป็นผู้ให้บริการ Self-Storage แบบพรีเมี่ยม ที่ตอบโจทย์ทั้งลูกค้าทั่วไป และผู้ประกอบการรายย่อย ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มขยายสาขาเพิ่มมากขึ้น

เขียนโดย :Hanabatake

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *