ในหนังสือ The Warehouse Handbook จะมีการจัดเก็บโดยแนวคิดเริ่มต้นที่
ระบบการจัดเก็บโดยไร้รูปแบบ (Informal System)
การจัดเก็บโดยไม่บันทึกตำแหน่งในระบบและสินค้าเก็บที่ไหนก็ได้ซึ่งผู้ที่รู้ตำแหน่งนั้นจะเป็นแค่พนักงานเท่านั้นจะที่จะรู้สถานที่จัดเก็บและจำนวนที่จัดเก็บจะเป็นรูปแบบที่เหมาะกับคลังสินค้าขนาดเล็กโดยมีข้อดีในเรื่องของการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยากและมีความยืดหยุ่นที่สูง
ระบบการจัดเก็บโดยกำหนดตำแหน่ง (Fix Location System)
จะเป็นการจัดเก็บที่มีตำแหน่งตายตัวอยู่แล้วจะเหมาะกับสินค้าที่มีขนาดเล็กและจำนวนพนักงานที่ไม่มากแต่จะมีข้อจำกัดในกรณีที่สินค้ามีจำนวนมากจะทำให้เสียพื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าแบบที่ไร้รูปแบบ แต่การจัดเก็บในรูปแบบนี้จะมีข้อดีในเรื่อง ต่อการนำไปใช้และง่ายต่อ การประสานงานต่อ
การจัดเก็บโดยใช้รหัสสินค้า (Part Number System)
ในรูปแบบนี้จะยิงโดยใช้รหัสสินค้าเป็นหลักโดยจะคล้ายกับการจัดเก็บแบบตายตัว โดยการใช้รหัสสินค้านั้นจะมีความสะดวกในเรื่องของการกำหนดชื่อสินค้าและการค้นหา
การจัดเก็บตามประเภทของสินค้า (Commodity System)
เป็นการจัดเก็บตามประเภทของสินค้าโดยมีการจัดวางไว้ในกลุ่มเดียวกันหรือประเภทเดียวกันไว้ในตำแหน่งที่ใกล้กันจะมีข้อดีในเรื่องการจัดเก็บสินค้าเพราะสินค้าแต่ละประเภทนั้นจะมีการจัดเก็บที่คล้ายๆ กัน
การจัดเก็บโดยไม่กำหนดตำแหน่งตายตัว (Landham Location System)
จะเป็นการจัดเก็บโดยไม่ได้กำหนดตำแหน่งโดยสินค้าจะถูกจะเก็บไว้ในตำแหน่งใดก็ได้โดยใช้ระบบในการจัดเก็บและติดตามและต้องปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอดเวลาข้อดีจะช่วยให้ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่าแต่จะต้องมีความเข้มงวดในการบันทึกข้อมูลการจัดเก็บ
การจัดเก็บแบบผสม (Combinatio System)
จะเป็นการจัดเก็บแบบผสมผสานในแต่ละรูปแบบโดยพิจารณาจากเงื่อนไขและข้อจำกัดของสินค้าและขนาดของคลังสินค้าซึ่งจะสามารถจัดเก็บและควบคุมสินค้าได้เป็นอย่างดี
ในแต่ละแนวคิดข้างต้นนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้โดยอิงจากขนาดและความต้องการของแต่ละสินค้าหรือสถานที่เพื่อช่วยให้การจัดเก็บนั้นได้ผลลัพธ์สูงที่สุดสำหรับผู้จัดเก็บ
เขียนโดย BaLli